เครือข่าย ค.ร.อ.ท.ยื่นหนังสือเลขาสอศ.คนใหม่แก้ปัญหาที่ซุกใต้พรม
5 ต.ค. 65 นายเศรษฐศิษฏ์ ณุวงค์ศรี ประธานเครือข่ายคนรักษ์อาชีวศึกษาแห่งประเทศไทย (ค.ร.อ.ท.)ได้นำสมาชิกเข้าร่วมแสดงความยินดีกับว่าที่ร้อยตรีธนุ วงษ์จินดา ในโอกาสเข้ารับตำแหน่งเลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา คนใหม่ณสำนักานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา และได้ยื่นหนังสือที่สมาชิกเครือข่ายฯได้ระดมแนวคิดและประเด็นปัญหาต่างๆ จากสมาชิกทั้งที่อยู่ในระบบราชการ นอกราชการ รวมถึงผู้ปกครองได้สรุปประเด็นปัญหาและแนวทางการแก้ปัญหาเพื่อนำเรียนต่อเลขาสอศ. เนื่องในโอกาสที่เลขาสอศ. เข้ารับตำแหน่งใหม่ ได้เป็นข้อมูลเพื่อการแก้ไขและพัฒนาการอาชีวศึกษาพื่ออนาคตต่อไป ซึ่งประเด็นข้อแสนอในวันนี้คือ
1. แสนอให้สอศ. เร่งการสร้างภาพลักษณ์ใหม่ของวิทยาลัยและผู้เรียนอาชีวศึกษา ซึ่งงปัจจุบันจะถูกมองว่าผู้เรียนอาชีวะจะมีแต่การทะเลาะวิวาท ทั้งที่เป็นปัญหาของคนส่วนน้อยแต่กลับเป็นภาพที่สังคมมองในภาพรวมของคนอาชีวะทั้งประเทศ รวมถึงให้มีการเร่งการสร้างความเชื่อมั่นจากประชาชน สถานประกอบการให้เชื่อมั่นผู้สำแร็จการศึกษาด้านอาชีวะเป็นผู้มีความรู้มีทักษะพร้อมเป็นกำลังหลักของประเทศ
2. การขาดแคลนอัตรากำลังงข้าราชการครู โดยเฉพาะวิทยลัยขนาดเล็กควรได้รับการแก้ไขโดยเร็วเพื่อความเชื่อมั่นด้านการศึกษาวิชาชีพของประชาชน
3. ขอให้สอศ.และผู้รับผิดชอบได้จัดสรรตำแหน่งพนักงานราชการสายงานด้านธุรการให้กับวิทยาลัยต่างๆ เห็นแพราะผู้ปฎิบัติงานเหล่านี้ส่วนมากจะเป็นลูกจ้างชั่วคราวไม่มีความมั่นคง และเป็นเหตุให้กิดการเปลี่ยนเจ้าหน้าที่บ่อยๆ เสี่ยงต่อคุณภาพของงาน
4. ในการจัดการศึกษาด้านอาชีวะเพื่อความเป็นเอกภาพในการจัดการศึกษาแต่ละท้องที่จะมีความแตกต่างจีงขอให้สอศ.ได้เสนอให้บอร์ดอาชีวศึกษาได้ออกกฎกระทรวงโดยการรวมวิทยาลัยฯของรัฐ ทุกแห่งเข้าสังกัดสถาบันการอาชีวศึกษาซึ่งปัจจุบันมี 23 แห่งทั้งประเทศ
นายเศรษฐศิษฏ์ ณุวงค์ศรีในฐานะประธานแครือข่าย ค.ร.อ.ท. ได้กล่าวเพิ่มเติมถึงประเด็นเร่งด่วนที่รอให้เลขาอาชีวศึกษาคนใหม่ได้ดำเนินการคือ
5. ให้พิจารณาปรับเปลี่ยนหรือยกเลิกการจัดกิจกรรมด้านต่างๆ การประกวด การประเมิน ที่มากเกินทำให้เป็นปัญหาอุปสรรคกับการพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนในภาพรวม ไม่ว่าจะเป็นการใช้จ่ายงบประมาณที่ใช้ดำนินการให้ครูร่วมกิจกรรม รวมถึงการทิ้งห้องเรียนของครูผู้สอน การแต่งตั้งให้ผู้บริหารเป็นกรรมการประเมินฯ ทำให้คนแหล่านี้ต้องทิ้งงานบริหารวิทยาลัย งานสอน แต่การจัดกิจกรรมต่างๆ ที่มากเกิน แทนที่จะใช้งบประมาณที่ใช้การจัดกิจกรรมต่างๆมาพัฒนาผู้เรียนที่ขาดวัสดุฝึก หรือคืนครูผู้สอนสู่ห้องเรียนคืนผู้บริหารให้ทำหน้าที่พัฒนาสถานศึกษา จะเป็นผลดีต่อการพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนในภาพรวมฯลฯ
6. ขอให้สอศ.มีนโยบายสนับสนุนพัฒนาบุคลากรให้มีการพัฒนาก้าวทันโลกเทคโนโลยี่ และได้ศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้นตรตามสาขาเพื่อพัฒนาการเรียนการสอนที่มีคุณภาพ
7. ขอให้สอศ.ได้สนับสนุนงบประมาณให้วิทยลัยนขนาดเล็กแป็นกรณีพิเศษ เพื่อจะได้บริหารและพัฒนาวิทยาลัยฯ ให้เท่าเทียมกัน
8. ให้มีการกระจายอำนาจการบริหารด้านงบประมาณ ด้านบุคลากร ด้านวิชาการให้กับวิทยาลัย สถาบันฯ ให้เป็นไปตามพรบ.การอาชีวศึกษา
นายเศรษฐศิษฏ์ ณุวงค์ศรี ประธานเครือข่าย ค.ร.อ.ท. ได้กล่าวถึงแนวทางการบริหารงบประมาณที่ผ่านมา
เป็นการใช้อำนาจการตัดสินใจจากส่วนกลางในการบริหารงบประมาณจึงทำให้มีเงินแหลือจ่ายในเดือนสุดท้ายของปีงบประมาณของทุกๆ ปี ทำให้การใช้จ่ายงบประมาณดังกล่าวอาจจะทำให้เป็นไปโดยไม่ชอบด้วยระบียบ จึงขอฝากเรื่องนี้ให้เลขาอาชีวศึกษาคนใหม่ได้พิจารณาแก้ไขวิธีการใช้จ่ายงบประมาณ และให้มีการดูแลวิทยาลัยต่างๆ ให้ทั่วถึง โดยแฉพาะวิทยาลัยฯ ขนาดเล็กที่ขาดแคลนที่รอการช่วยเหลือ