Hot Widget

Header ADS
Type Here to Get Search Results !
Header ADS

“สร้างเครือข่ายและความร่วมมือ เป้าหมายผลิตแรงงานคุณภาพสูงสู่สากล”

สถาบันการอาชีวศึกษาภาคกลาง 5 ประชุมคณะทำงานขับเคลื่อนโครงการความร่วมมือ IM Japan
“สร้างเครือข่ายและความร่วมมือ เป้าหมายผลิตแรงงานคุณภาพสูงสู่สากล”

วันพฤหัสสบดีที่ 18 เมษายน 2567 เวลา 9.30 น. นายอรรถการ ตฤษณารังสี นายกสภาสถาบันการอาชีวศึกษาภาคกลาง 5 พร้อมด้วย นายสมศักดิ์ บุญโพธิ์ ผู้อำนวยการสถาบันการอาชีวศึกษาภาคกลาง 5 ดร.พีลิน สกุลณา กรรมการสภา ผู้ทรงคุณวุฒิสถาบันฯ

ร่วมประชุมคณะทำงานขับเคลื่อนโครงการความร่วมมือ IM Japan ณ ห้องนทรี สถาบันการอาชีวศึกษาภาคกลาง 5 ประเด็นหารือ ได้แก่ การวิเคราะห์ผลการประชุมร่วมกับผู้บริหารสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาที่เกี่ยวข้องกับเครือข่ายความร่วมมือทวิภาคี และแนวทางการขับเคลื่อน แผนการขับเคลื่อนและลงมือปฏิบัติ  ผลการประชุมสรุปแผนการขับเคลื่อนและลงมือปฏิบัติงานเพื่อให้นำไปสู่ความสำเร็จ โดย Agenda 1 ประสานแผนขับเคลื่อน ได้ดำเนินการประชุมคณะกรรมการดำเนินการกลุ่มย่อย เมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2567 ณ ห้องประชุม 5 สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา

 ผู้เข้าร่วมประกอบด้วย สำนักมาตรฐานฯ สำนักความร่วมมือฯ ศูนย์ทวิภาคีฯ ศูนย์ประสานงานฯ สถาบันการอาชีวศึกษาภาคกลาง 5 โดยสรุป  1) งบประมาณในการดำเนินการ 2) ผู้รับผิดชอบหลักในการขับเคลื่อน 3) ผู้เข้าร่วมอบรม กรณีเป็นนักศึกษาไปฝึกจะขาด ความอดทนและไม่สามารถอยู่ครบโครงการ ข้อเสนอแนะควรเป็นนักศึกษาที่ตั้งใจไปทำงานและการเทียบโอนประสบการณ์ หรือการเพิ่มวุฒิการศึกษาเป็นการขยายโอกาสเฉพาะบางคน และได้นัดหมายประชุมคณะกรรมการดำเนินงานตามคำสั่งของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา วันที่ 7 พฤษภาคม 2567 ณ ห้องประชุม สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา 

Agenda 2 เสนอสอศ. ประเด็นความร่วมมือ / หารือกับ IM Japan ได้การประสานงานกับสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ได้ดำเนินการประชุมคณะทำงานเตรียมข้อมูลเพื่อประชุมกับคณะกรรมการตามคำสั่งสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ส่วนการทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือนั้น ทางสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาได้ดำเนินการไปก่อนหน้านี้แล้ว การประสานงานกับผู้แทน IM Japan ได้ดำเนินการทำคลิปประชาสัมพันธ์ เสนอไปยังแหล่งข้อมูลต่าง ๆ ได้มีการพบรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานเพื่อแจ้งข้อมูลความร่วมมือ (ข่าวสามมิติ นาทีที่ 43) Agenda 3 การเตรียมการด้านกฎหมายที่เกี่ยวข้องเพื่อขออนุญาต Agenda 4 เสนอโครงการ วิเคราะห์ งบประมาณ เสนอ สอศ. Agenda 5 เตรียมจัดการเรียนการสอน ปวช, ปวส, ป.ตรี ตามความพร้อม การเทียบโอน สะสมหน่วยกิต ได้ดำเนินการเลือกสาขาวิชา ช่างเชื่อมโลหะ และช่างกลโรงงงานเป็นสาขานำร่อง Agenda 6 ประสาน สคช. เพื่อขอ Module การเรียนออนไลน์ที่สอดคล้องกับมาตรฐานอาชีพและตรงกับรายวิชาในหลักสูตร Agenda 7 เร่งรัดการผลิตชุดการเรียนรู้ Digital Learning  Agenda 8 คู่มือการจัดการเรียนระบบทวิภาคีต่างประเทศ 

ได้ดำเนินการร่างเรียบร้อยแล้วให้คณะกรรมการกลับไปทบทวน และมีการมอบหมายหน้าที่ ความรับผิดชอบให้กรรมการแต่ละคนรับผิด และนำเสนอ รายงานงานเป็นระยะเพื่อให้เห็นการเปลี่ยนแปลง ซึ่งโครงการนี้จะเป็น “ต้นแบบการพัฒนากำลังคนเพื่อตอบโจทย์ในการพัฒนาประเทศต่อไป”สร้างโอกาสในการเชื่อมโยงระหว่างกระทรวงแรงงาน สถาบันการอาชีวศึกษา และองค์กรหรือตลาดแรงงานประเทศญี่ปุ่น ซึ่งจะเป็นการเปิดประตูให้กับนักเรียนและบุคลากรในประเทศได้มีโอกาสในการพัฒนาตนเอง เป็นการพัฒนาประเทศไปในคราวเดียวกัน./

#สมาคมหนังสือพิมพ์ส่วนภูมิภาคแห่งประเทศไทย